วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557





" พระราชวังพญาไท"

ประวัติ

    เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จ ทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธี แรกนาขวัญ หลายครั้ง ณ วังพญาไท

     วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่ เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงพระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็นพระราชวังพญาไท


ที่ตั้ง

วังพญาไท อยู่ในย่านใจกลางเมือง ใกล้กับอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  

การเดินทางสามารถเดินทางมาได้สะดวก เมื่อถึงอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิแล้ว ให้เดินเลียบตามถนนราชวิถี เมื่อเดินมาเรื่อยๆ จะพบกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า  วังพญาไทจะอยู่ติดกับโรงพยาบาลทางด้านซ้ายมือ








วังพญาไทมีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างโรมาเนสก์กับโกธิค จุดเด่นที่สุดคือยอดโดมสีแดงสำหรับชักธงมหาราช  ในการออกแบบพระราชวังได้มีการปรับและดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทย โดยออกแบบให้มีหน้าต่างเปิดกว้่างวรับลมได้ทุกด้าน

บริเวณพระราชวังจะประกอบไปด้วยหมู่พระที่นั่ง 5 องค์ คือ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์  ซึ่งในแต่ละอาคารก็จะมีลักษณะที่พิเศษและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป






เมื่อเดินมาถึงทางเข้าจะพบกับสนามหญ้าสีเขียวขนาดใหญ่ และจะพบกับ

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ 
ซึ่งอยู่ทางด้านขวาเป็นอาคารแรก


พระที่นั่งเทวราชสภารมย์

เป็นเรือนไม้สีเขียว  มีจุดเด่นที่ส่วนของหลังคา ที่ทำเป็นรูปโดมตรงกลางและมีรูปโค้งครึ่งวงกลมอีก 4 ด้านไปบรรจบกับโดมตรงกลาง มีระเบียงโดยรอบ 



เมื่อเดินผ่านสนามหญ้าและแล้วขวา ทางด้านซ้ายมือก้จะพบกับพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส 



   พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส 

   เป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น มีโดมขนาดเล็ก ลักษณะ      อาคารเป็นแบบอิงลิช โกธิค มีทางเชื่อมต่อกับ  พระที่นั่งพิมานจักรีในชั้น 2 องอาคารบริเวณเพดานมีจิตรกรรมลักษณะแบบ อาร์ต นูโว เป็นลายดอกไม้

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส 

และเมื่อมองไปทางด้านซ้ายจะพบกับพระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน
 และอาคารเทียบรถพระที่นั่ง (ปัจจุบันปรับปรุงเป็นร้านกาแฟนรสิงห์ )

พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

เป็นอาคาร 2 หลังเชื่อมติดกันโดยมีทางเชื่อม
ทางเชื่อมระหว่างพระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

    หอคอยสูง ของพระที่นั่งพิมานจักรี ที่ถือเป็นลักษณะเด่นของพระราชวังพญาไท ยอดโดมส่วนบนสุดไว้สำหรับชักธงมหาราชในเวลาที่องค์พระประมุขประทับอยู่ในพระราชฐาน  ภายในมีจิตรกรรมสีบนเพดานและบริเวณด้านบนของผนัง เขียนเป็นลายเชิ้งฝ้าเพดานรูปดอกไม้




ร้านกาแฟนรสิงห์

และเมื่อเดินไปทางด้านหลัง จะพบกับ
สวนโรมัน
พระตำหนักเมขลารูจี ทางด้านหลังของพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ลักษณะเป็นเรือนไม้หลังเล็กอยู่ริมน้ำ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับชั่วคราวระหว่างการก่อสร้างพระราชมณเฑียร ใช้เป็นที่ทรงพระอักษร ทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ของรัชกาลที่ 6


ส่วนทางด้านหลังของพระที่นั่งทั้งหมดจะเป็นที่ตั้งของสวนโรมัน เป็นสวนแบบตะวันตก มีศาลาตจั้งตระง่านอยู่ด้านหน้า มีศาลาทรงกลมตรงกลาง หน้าศาลาประดับด้วยรูปปั้นหญิงสาวแต่งกายในแบบของโรมัน




ส่วนในพระที่นั่งสุดท้ายคือ
พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ อยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน มีลักษณะเป็นอาคารสูง 2 ชั้น เรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งด้วยจิตรกรรมภาพเขียนสีปูนเปียกตามเพดานและผนัง แต่พื้นประดับด้วยกระเบื้องลวดลาย เมีสะพานเชื่อมชั้น 2 ไปยังพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน 


         ในปัจจุบันไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน  เพราะปัจจุบันได้ใช้เป็นสำนักงานที่ทำการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 





นางสาวกรวีร์ จันทรมัย 53020002